Posted on: July 29, 2022 Posted by: Wanda Palmer Comments: 0
surface treatment

surface treatment หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้ หรือถ้าคุณกำลังสนใจเรื่องนี้ แสดงว่ามาถูกทางแล้ว เพราะวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ surface treatment ให้มากขึ้นและการอบชุบเหล็กบางและเหล็กหนา อบชุบด้วยวิธีการใด อันดับแรกเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ surface treatment กันก่อนดีกว่า

surface treatment คืออะไร

surface treatment คือ การรักษาพื้นผิว จัดว่าเป็นกระบวนการเพิ่มเติมที่ใช้กับพื้นผิวของวัสดุ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มคุณสมบัติบางประการ เช่น เพิ่มความแข็งแรงทนทาน เพิ่มคุณสมบัติป้องกันการเสียดสี ต้านทานการกัดกร่อน เป็นต้น บางครั้งการ surface treatment ยังอาจหมายถึงการปรับปรุงคุณสมบัติความแตกต่างหรือเพิ่มรูปลักษณ์ ปัจจุบันที่ได้รับความนิยม เช่น การอบชุบ

การอบชุบ คืออะไร

การอบชุบ หรือ Heat treatment มีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของโลหะ ไม่ใช่แค่เพิ่มความแข็งแรงทนทาน แต่หมายถึงคุณสมบัติอื่นๆ เป็นกระบวนการให้ความร้อนแก่โลหะและลดความร้อนลงทำให้โครงสร้างเกิดการเปลี่ยนแปลง การอบชุบจะมีการเติมธาตุต่างๆ ลงไปในเหล็กที่ทำการอบชุบ เช่น คาร์บอนทำให้เหล็กเกิดความแข็งแรง ทนทานมากขึ้น อะลูมิเนียม ช่วยต้านทางการตกสะเก็ด โครเมียม ทนทานต่อการกัดกร่อน นิกเกิล ทนทานต่อการสึกหรอ เป็นต้น

การอบชุบมีด้วยกันหลายวิธี เช่น การอบให้อ่อน ช่วยให้เหล็กกล้าง่ายต่อการนำไปตบแต่งไสกลึง การลดความเค้น ช่วยลดการบิดงอหลังจากการชุบแข็ง สำหรับการชุบแข็งทำให้เหล็กแข็งแรงทนทาน มีความแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม การชุบแข็ง อาจทำให้เหล็กแข็งแต่เปราะบางง่าย ดังนั้น จึงมีกระบวนการอบคืนตัว ทำให้เหล็กมีความเหนียว ไม่เปราะบาง

การ surface treatment ด้วยการอบชุบ เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม สำหรับการอบชุบที่เหมาะกับชิ้นงานที่มีความหนา ได้แก่ กระบวนการมาร์เทมเปอริ่ง กระบวนการนี้ช่วยลดการบิดงอของชิ้นงาน ที่มาจากการเย็นตัวไม่เท่ากัน ระหว่างผิวภายนอกของชิ้นงานและภายในใจกลาง การอบชุบแบบนี้จะได้ความแข็งประมาณ 55-60 RC เป็นการให้ความร้อนแก่เหล็กจนเกิดโครงสร้างออสเตไนท์ จากนั้นลดอุณหภูมิเกิดเป็นโครงสร้างมาร์เทนไซท์ เผาแช่ไว้ระยะหนึ่งทำให้เย็นตัวในอากาศ จะได้โครงสร้างแบบมาร์เทนไซท์

การ surface treatment ด้วยการอบชุบแบบออสเทมเปอริ่ง เหมาะกับชิ้นงานบางๆ ที่ต้องการทั้งความแข็งและความเหนียว เป็นการให้ความร้อนกับชิ้นงานจนเกิดโครงสร้างแบบออสเตไนท์ จากนั้นลดอุณหภูมิลง ชิ้นงานจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเป็นเบไนท์ เผ่าแช่ระยะหนึ่ง โครงสร้างจะได้แบบเบไนท์ในที่สุด จากนั้นทำให้เย็นลงในอากาศ กระบวนการนี้คาร์ไบด์จะไม่ค่อยมีและมีแรงเครียดเกิดขึ้นน้อย ส่งผลให้ขนาดของชิ้นงานไม่เปลี่ยนแปลงรูป